ติดต่อ

Checklist 7 หัวข้อ ก่อนการขอมาตรฐาน ISO 14064-1 การวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร

December 13, 2023

มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจก ISO14064 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นวิธีปฏิบัติการที่ดี ในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนาเสนอความเป็นสากลซึ่งสอดคล้องกับเทคนิคเกี่ยวกับปริมาณและรายงานด้านก๊าซเรือนกระจก และก่อให้เกิดความโปร่งใสในการดาเนินการการซื้อขายคาร์บอน
มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกสาหรับองค์กร ISO 14064 เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าด้วยรายละเอียดของหลักการ และข้อปฏิบัติสาหรับการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ การติดตาม การรายงานผล และการตรวจสอบเอกสาร หรือการยืนยันผล ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ภายในขององค์กร หรือบริษัท รวมถึงเสริมสร้างกิจกรรม หรือการกระทาใดที่จะสามารถช่วยบริหารจัดการการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งมาตรฐาน ISO 14064 ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยที่สาคัญได้แก่

  • ISO 14064-1 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการประเมินปริมาณและการรายงานผลการปล่อย และการกาจัดออก ของก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร หรือบริษัท
  • ISO 14064-2 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการประเมินเชิงปริมาณ การติดตาม และการรายงานผลการลดลง และการกาจัดออกของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ
  • ISO 14064-3 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเอกสาร และการยืนยันผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกนี้ช่วยในการออกแบบองค์กรของให้สามารถจัดการการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และความน่าเชื่อถือของการรายงานปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ซึ่ง ในบทความนี้จะนำไปสู่ 7 คำถามสำคัญก่อนการขอมาตรฐาน ISO 14064-1 การวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร

1. เราจะรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างไร?

ขั้นตอนรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

  • กำหนดขอบแขตการรายงานก๊าซเรือนกระจก
  • ชี้บ่งแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • คำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • จัดทำรายงานบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  • ทวนสอบรายงานบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2. เราจะมีส่วนรวมในการลดการปลดปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไรบ้าง ?

องค์กรสามารถมีส่วนร่วมได้หลายวิธี เช่น การใช้พลังงานสะอาด, ปรับเปลี่ยนวิธีการกำจัดขยะเพื่อลดการฝังกลบ, ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นให้มีค่า GWP ต่ำๆ, การปลูกป่า เป็นต้น

3. ถ้าเริ่มดำเนินการรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเลือกใช้ปีไหนเป็นปีฐานในการคำนวน?

องค์กรสามารถกำหนดปีฐานขึ้นได้เลยค่ะ โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 1 ปีย้อนหลังหรือค่าเฉลี่ยต่อเนื่องหลายปี

4. CBAM คืออะไร

CBAM คือ คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU

5. กลุ่มสินค้าสินค้าประเภทไหนบ้างที่ถูกพิจารณาตามระเบียบของ CBAM

สินค้า 7 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า

6. ระเบียบของ CBAM เริ่มบังคับใช้เมื่อไหร่

CBAM Certificate เริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบวันที่ 1 ม.ค. 2026

7. สำหรับบริษัทที่ได้รับการรับรอง CFO แล้ว มีความประสงค์ที่จะขอการรับรอง ISO 14064-1 ต้องทำอย่างไร?

  • ปรับขอบเขตในการรายงานให้สอดคล้องกับ ISO 14064-1
  • จัดทำระบบเอกสารควบคุมในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เขตธุรกิจลู่เจียซุยของเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
ข่าวธุรกิจMarch 31, 2025

การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมใน ISO 14001: การรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น เช่น เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง การขาดแคลนทรัพยากร และกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น การนำ  ISO 14001 มาตรฐานสากลสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) เพื่อเข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรเพื่อบรรเทาความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจัดการกับความท้าทายเหล่านี้
วิวทางอากาศของแม่น้ำ
ข่าวสารองค์กรในประเทศFebruary 24, 2025

ขอแสดงความยินดีกับ Panasonic ที่ได้รับการรับรองเป็นรายแรกของ SGS ที่ได้รับการรับรอง ISO 14068-1 และ PAS 2060

บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ บริษัท Panasonic Energy (Thailand) จำกัด ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14068-1 และ PAS 2060 เป็นรายแรกของเอสจีเอส ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ การรับรองนี้ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและยกระดับมาตรฐานสู่ระดับสากล
Children Day 2025_2
ข่าวสารองค์กรในประเทศJanuary 27, 2025

เอสจีเอสร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 2568

เอสจีเอส ประเทศไทย ร่วมส่งเสริมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยมอบของขวัญ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬาและร่วมจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ 

 

ผู้ชมกำลังฟังคลิปการนำเสนอ
ข่าวธุรกิจJanuary 06, 2025

ISO 20121 Event sustainability management systems มาตรฐานการบริหารการจัดการงานอย่างยั่งยืน

ISO 20121:2012 Event Sustainability Management Systems หรือมาตรฐานการบริหารการจัดการงานอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการจัดงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กหรือใหญ่ 

ข่าวสารและข้อมูลเชิงลึก

  • บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด - สำนักงานใหญ่

238 TRR Tower, 19th-21st Floor, Naradhiwas Rajanagarindra Road,

Chong Nonsi, Yannawa, 10120,

กรุงเทพ, ประเทศไทย